โรคหัวใจคืออะไร ดูแล ป้องกันอย่างไรให้ห่างไกลโรคร้าย
คนเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกันนั้นกับอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจที่เพิ่มสูงขึ้น ทาง Boston Health ของเรา ได้ตระหนักเห็นปัญหาโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดหัวใจที่มาพร้อมกับพฤติกรรมสุขภาพของคนในปัจจุบัน จากทั้งอาหาร กิจกรรมการใช้ชีวิตและความเครียด จึงได้จัดให้มีโปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจด้วยเครื่องมือที่ครบครันและทันสมัยในการตรวจหาความเสี่ยง และวินิจฉัยความผิดปกติ และอาการเตือนโรคหัวใจได้อย่างแม่นยำ โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้คุณได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ลดความเสี่ยงของโรคและวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่ระยะแรกที่สามารถรักษาได้ก่อน ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากโรค และเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของคุณ
โรคหัวใจคืออะไร?
โรคหัวใจ (Heart Disease) คือโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ โดยอาการที่แสดงขึ้นอยู่กับส่วนที่มีความผิดปกติของหัวใจ เช่น อาการแน่นหน้าอก อาการใจสั่น หรือ อาการหายใจเหนื่อย แตกต่างกันไปในแต่ละประเภทของโรคหัวใจ ซึ่งความผิดปกติของหัวใจมีสาเหตุได้จาก ความผิดปกติแต่กำเนิด หรือ จากสภาพสื่งแวดล้อม เช่น อาหารการกิน การออกกำลังกาย หรือภาวะความเครียดจากการทำงาน รวมถึงการพักผ่อนไม่เพียงพอ ดังนั้นการตรวจสุขภาพของโรคหัวใจจึงสำคัญ เพื่อลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคเป็นเรื่องที่สำคัญ เนื่องจากช่วยลดภาวะรุนแรงและการเสียชีวิตจากโรค และสามารถดูแล รักษาสุขภาพหัวใจได้ทันท่วงที
โรคที่เกี่ยวกับหัวใจมีอะไรบ้าง?
โรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ และอาการที่ขึ้นอยู่กับส่วนที่มีความผิดปกติของการทำงานหัวใจ ดังนี้
- โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เกิดจากผนังหลอดเลือดหัวใจหนาตัวขึ้นจากการอุดตันของไขมันและเนื้อเยื่อ เป็นเหตุให้หลอดเลือดตีบ หรือเกิดจากการเสื่อมสภาพของผนังหลอดเลือดหัวใจ ทำให้การไหลเวียนเลือดไปสู่หัวใจลดน้อยลง ไม่เพียงพอต่อการหล่อเลี้ยงหัวใจ อาจทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้
- มักมีอาการเหนื่อยง่าย เจ็บแน่นหน้าอกขณะออกแรง รู้สึกเสียดหรือแสบร้อนในบริเวณทรวงอก เหงื่อออก และใจสั่น
- โรคลิ้นหัวใจตีบและรั่ว เกิดได้หลายสาเหตุเช่น ลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจอักเสบรูห์มาติค ติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ หรือหินปูนเกาะที่ลิ้นหัวใจ เป็นต้น
- มักมีอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอกเวลาออกแรง ขาทั้งสองข้างบวม นอนราบไม่ได้ ท้องอืดหรือท้องบวม อาจมีอาการวูบหรือหน้ามืดเกิดขึ้นได้
- ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากการมีกระแสไฟฟ้าในหัวใจผิดปกติ สาเหตุอาจมาจากความเสื่อมสภาพของร่างกาย กรรมพันธุ์ หรือโรคบางชนิด เช่น เส้นเลือดหัวใจตีบ ความดันโลหิตสูง ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เป็นต้น หรืออาจเกิดจากการได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานาน เช่น ยาขยายหลอดลม ยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ เป็นต้น
- มักมีอัตราการเต้นของหัวใจช้าหรือเร็วกว่าปกติ มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มึนงง ใจหวิว วูบ ความดันโลหิตต่ำและอาจเป็นลมหมดสติ
- โรคหัวใจล้มเหลว (Heart Failure)
- ภาวะหัวใจล้มเหลวแบบเฉียบพลัน หรือที่เรียกว่า หัวใจวาย มักเกิดจากเส้นเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรง หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
- ภาวะหัวใจล้มเหลวแบบเรื้อรัง มักเกิดจากเส้นเลือดหัวใจตีบเรื้อรัง โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่วที่ไม่ได้รับการรักษา หรืออาจเกิดจากการได้รับยาหรือสารเสพติดบางชนิด เช่น ดื่มสุราต่อเนื่องในปริมาณมาก หรือได้รับยาเคมีบำบัด เป็นต้น
- มักมีอัตราการเต้นของหัวใจช้าหรือเร็วกว่าปกติ มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย มึนงง ใจหวิว วูบ ความดันโลหิตต่ำและอาจเป็นลมหมดสติ
- โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด มักเกิดขึ้นในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจเกิดจากการมีรูรั่วที่ผนังกั้นภายในห้องหัวใจ ลิ้นหัวใจตีบตันหรือรั่ว เป็นต้น โดยสามารถวิเคราะห์ความผิดปกติโดยการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiogram) ในเด็กเล็ก มักมีเหงื่อออกมากบริเวณศีรษะ ดูดนมนานกว่าปกติ ตัวเล็ก เลี้ยงไม่โต น้ำหนักไม่ค่อยขึ้น ในเด็กโตและวัยผู้ใหญ่มักมีอาการเหนื่อยง่าย หายใจหอบ เยื่อบุตาหรือริมฝีปากมีสีเขียว ใจสั่น เจ็บแน่นหน้าอก
- โรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ผู้ป่วยเป็นโรคหัวใจ แล้วส่งผลให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุหัวใจ โดยเฉพาะบริเวณลิ้นหัวใจ ซึ่งทำให้การไหลเวียนของเลือดในห้องหัวใจผิดปกติ ส่งผลให้เกิดเป็นก้อนเลือดเล็ก ๆ ที่อาจหลุดลอยเข้าไปในกระแสเลือด อาจทำให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือดแดงใหญ่ และอาจส่งผลให้อวัยวะขาดเลือด
- โรคหัวใจอาการดังกล่าวมักมีไข้ต่อเนื่องติดต่อกันหลายวัน อ่อนเพลีย หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจหอบเหนื่อย ไอเรื้อรังและอาจมีผื่นขึ้นตามผิวหนัง
โรคหัวใจเกิดจากอะไร?
โรคหัวใจเกิดได้จาก 2 ปัจจัยหลักคือ
วิธีการป้องกันและดูแลตนเองเพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงโรคหัวใจ เช่น สูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหาร โดยทางอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม ลดปริมาณโซเดียมและน้ำตาลให้น้อยลง และออกกำลังกายเป็นประจำ ร่วมกับควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์
นอกจากนี้หมั่นสังเกตอาการโรคหัวใจเบื่องต้น หากร่างกายส่งสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติของหัวใจให้รีบพบแพทย์ เพื่อตรวจเช็คอย่างละเอียด และรับการดูแลที่ถูกต้อง เพื่อลดความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคได้มากยิ่งขึ้น
อาการโรคหัวใจเบื้องต้นที่ควรรู้ไว้
อาการโรคหัวใจเบื้องต้นที่ควรรู้ และจำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาทันที เมื่อร่างกายส่งสัญญาณปัญหาหัวใจ ดังนี้
ถ้าคุณมีอาการดังที่กล่าวไป ควรพบแพทย์เพื่อประเมินอาการทันที ที่ Boston มีบริการเช็คหัวใจแบบละเอียดครบวงจร หากสนใจติดต่อคลินิกตรวจโรคหัวใจ Boston ได้ที่เบอร์ 052-082-888
โรคหัวใจตรวจยังไง มีวิธีตรวจหัวใจด้วยอะไรบ้าง
การตรวจหัวใจ มีหลากหลายวิธี สามารถแบ่งได้เป็นการตรวจได้ ดังต่อไปนี้
การตรวจหัวใจด้วยการตรวจร่างกายและการฟังเสียงหัวใจ
เริ่มที่การตรวจที่ง่ายที่สุด คือ การพบแพทย์และทำการตรวจร่างกาย ทั้งการตรวจความดัน วัดชีพจร และออกซิเจนในเลือด ต่อมาเป็นการตรวจร่างกาย จากการดู ฟัง คลำ เคาะ เพื่อประเมินความผิดปกติของหัวใจ ถ้าตรวจพบจำเป็นต้องส่งตรวจเพิ่มเติม
การตรวจหัวใจด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
การตรวจ Test ที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด คือ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อตรวจเช็คโรคหัวใจ เช่น หัวใจขาดเลือด หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ เป็นการตรวจสุขภาพหัวยใจหลังอายุมากกว่า 30 ปีควรทำเป็นประจำ
การตรวจหัวใจด้วยการทำ Stress Test
การตรวจ Stress test เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจเปรียบเทียบระยะพักและระยะที่ออกแรง เนื่องจากโรคหัวใจบางชนิดจะแสดงอาการเวลาที่ออกกำลัง เป็นการตรวจหาโรคได้ในระยะเริ่มต้น
การตรวจหัวใจด้วยการเครื่องอัลตราซาวน์หัวใจ
การตรวจอัลตราซาวน์หัวใจเป็นการตรวจการทำงานและโครงสร้างของหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนออกมาเป็นภาพ เพื่อดูว่ามีความผิดปกติของหัวใจแต่ละห้องหรือไม่ มีลิ้นหัวใจผิดปกติไหม เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการตรวจอื่น ๆ อีก สามารถสอบถามรายละเอียดบริการเพื่อเติมได้ที่ 052-082-888 หรือ Email :info@BostonHealthCM.com
Show more +รู้ไหมใครเสี่ยงโรคหัวใจ
การเกิดโรคหัวใจสามารถเกิดได้จากหลายปัจจัยหนึ่งในนั้น คือ ถ้าปัจจัยภายในและภายนอก ภายในคือเรื่องของพันธุกรรมเป็นหลัก ถ้าคนที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจหรือเสียชีวิตจากโรคหัวใจตั้งแต่อายุน้อย ควรปรึกษาแพทย์ พร้อมทำการตรวจและประเมินความเสี่ยง เพื่อทำการรักษาและการป้องกันก่อนเกิดโรค นอกจากนี้คือปัจจัยภายนอก เช่น การสูบบุหรี่จัด หรือ บุคคลที่มีน้ำหนักมาก ตลอดจนความเครียดสะสมเองก็เป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำให้มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้มากยิ่งขึ้น
วิธีรักษาโรคหัวใจ ทำอย่างไรให้หายขาด
วิธีการรักษาโรคหัวใจที่ดีที่สุด คือ การป้องกันก่อนเกิดโรค ดังนั้นจึงความตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำเมื่อถึงวัย หรือมีความเสี่ยง และรักษาปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ เช่น ลดน้ำหนัก ควบคุมอาหาร หรือ กินยาตามแพทย์สั่ง และดูแลปฏิบัตตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
คลินิกโรคหัวใจเชียงใหม่ Boston Health ตรวจละเอียด ราคาไม่แพง
Boston Health Polyclinic มีแพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจสำหรับผู้ต้องการดูแลและคัดกรองความเสี่ยงโรคหัวใจ ซึ่งมีโปรแกรมการตรวจที่หลากหลาย เช่น ดูน้ำหนัก ส่วนสูง ความดันโลหิต อัตราและความสม่ำเสมอของการเต้นของหัวใจ การตรวจเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และแปลผลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ที่ Boston Health เรามีทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ และทีมสหวิชาชีพที่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด พร้อมเครื่องมือที่ครบครันและทันสมัยในการตรวจหาความเสี่ยง และวินิจฉัยความผิดปกติของหัวใจได้อย่างแม่นยำ เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับการรักษาได้อย่างเหมาะสม และรู้ถึงปัญหาสุขภาพได้ตรงจุด ด้วยราคาตรวจบริการสมเหตุสมผล